ภาษาไทย | English

หมวดหนังสือ -> เอกสารสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง -> การศึกษาอิทธิพลของเฟสกระจายตัวต่อผลทางไฟฟ้าส่งออกของตัวกำเนิดพลังงานวัสดุผสมเพียโซอิเล็กทริกแบบยืดหยุ่นได้
คะแนนหนังสือ :
คะแนนเฉลี่ย : 0.00
คะแนนหนังสือ :
ให้คะแนน  

ยืมหนังสือ
 

Title
การศึกษาอิทธิพลของเฟสกระจายตัวต่อผลทางไฟฟ้าส่งออกของตัวกำเนิดพลังงานวัสดุผสมเพียโซอิเล็กทริกแบบยืดหยุ่นได้
Title.Alternative
The study of phase dispersion effect on the electrical output performance for the composite-based flexible
Creator
วณิษา คำภีระ
Creator
สุดธิดา ไชยราช
Creator
สุธาสินี นาคสุข
Subject
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.สาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรม -- ปริญญานิพนธ์
Subject
เพียโซอิเล็กทริก
Subject
เพียโซอิเล็กทริก -- สมบัติทางไฟฟ้า
Subject
ไฟฟ้า
Subject
เส้นใยนาโน
Subject
เคมีอุตสาหกรรม -- ปริญญานิพนธ์
Description.Abstract
ในงานวิจัยนี้ ได้ทำการเตรียมการเส้นใยนาโนแบเรียมไททาเนตด้วยวิธีโซลเจล และกระบวนการผลิตเส้นใยด้วยไฟฟ้าผลิต เพื่อใช้วัฏภาคกระจายในวัสดุผสมเพียโซอืเล็กทริกยืดหยุ่นได้ โดยโครงสร้างของอุปกรณ์ประกอบด้วยวัฏภาคกระจายตัวระหว่างเส้นใยนาโน และอนุภาคนาโนแบเรียมไททาเนตในอัตราส่วนที่แตกต่างกัน โดยใช้ขั้วไฟฟ้าคือขั้วไฟฟ้าอินเทอร์ดิจิท และถูกปกคลุมด้วยพอลิไดเมทิลไซลอกเซน โดยทำการวิเคราะห์สัณฐานวิทยาของเส้นใย และอนุภาคนาโนแบเรียมไททาเนต รวมถึงการกระจายตัวของวัฎภาคกระจายบนพื้นผิวขั้วไฟฟ้าอินเทอร์ดิจิทด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด ตรวจวิเคราะห์เอกลักษณ์ของเส้นใย และอนุภาคนาโนแบเรียมไททาเนต ด้วยเทคนิคการลี้ยวเบนรังสีเอ็กซ์ และเทคนิคฟูเรียร์ทรานฟอร์มอินฟราเรด จากนั้นตรวจสอบค่าแรงดันไฟฟ้าส่งออกรวมถึงความล้าของอุปกรณ์ ผลการทดลองพบว่าเส้นใยนาโน และอนุภาคนาโนมีโครงสร้างเพอรอฟสไกต์แบบเตตระไกนอล เมื่อนำอุปกรณ์ไปทดสอบแรงกดเชิงกลพบว่าอัตราส่วนเส้นใยต่ออนุภาคที่ 50%:50% ให้แรงดันไฟฟ้าส่งออกสูงที่สุดประมาณ 9 V หลังจากทดสอบความล้า พบว่าอุปกรณ์เสื่อมสภาพเมื่อให้แรงเชิงกลอย่างต่อเนื่อง สันนิษฐานว่าเกิดจากความเสียหายบริเวณรอยต่อที่เกิดการเสียดสีกันระหว่างชั้นของพอลิเมอร์และพื้นผิวของขั้วไฟฟ้ารวมทั้งเส้นใยและอนุภาค บางส่วนเกิดการหลุดและการแตกหัก จึงส่งผลให้ประสิทธิภาพของอุปกรณ์ด้อยลง ทั้งนี้การทดลองนี้ได้เสนอแนวทางในการเตรียมเส้นใยนาโนแบเรียมไททาเนตที่มีคุณภาพ รวมถึงการสร้างอุปกรณ์เก็บเกี่ยวพลังงานเพียโซอิเล็กทริกแบบยืดหยุ่นที่มีโครงสร้างอย่างง่าย โดยเสนอแนวทางการวิเคราะห์ผลทางไฟฟ้าสามารถเป็นแนวทางในการออกแบบอุปกรณ์กักเก็บพลังงานที่มีประสิทธิภาพ และมีความคงทนต่อการใช้งาน
Publisher
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. สำนักหอสมุดกลาง
Publisher.Place
กรุงเทพมหานคร
Publisher.Email
library@kmitl.ac.th
Contributor
นราธิป วิทยากร
Contributor.Role
อาจารย์ที่ปรึกษา
Date.Created
2560
Date.Issued
2562-10-31
Date.Modified
2562-10-31
Type
ปริญญานิพนธ์/KMITL E-Thesis
Format
application/pdf
Source.CallNumber
EThesis
Language
tha
Rights
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
Thesis.DegreeName
วิทยาศาสตรบัณฑิต (เคมีอุตสาหกรรม)
Thesis.Level
ปริญญาตรี
Thesis.Faculty
คณะวิทยาศาสตร์
Thesis.Descipline
เคมีอุตสาหกรรม
Thesis.Grantor
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง


แสดงความเห็น
หัวข้อ
รายละเอียด
 
 
 
     แสดงความเห็น

34.229.63.28