ภาษาไทย | English

หมวดหนังสือ -> เอกสารสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง -> ศักยภาพการกักเก็บคาร์บอนโดยเปรียบเทียบระหว่างต้นแสมขาวและต้นแสมดำ
คะแนนหนังสือ :
คะแนนเฉลี่ย : 0.00
คะแนนหนังสือ :
ให้คะแนน  

ยืมหนังสือ
 

Title
ศักยภาพการกักเก็บคาร์บอนโดยเปรียบเทียบระหว่างต้นแสมขาวและต้นแสมดำ
Title.Alternative
Potential for carbon sequestration by comparison parts of Avicennia alba and Avicennia officinalis
Creator
ณัฐชนก สยมชัย
Creator
วรุฒ ศาตะนิมิ
Creator
สุพรรษา ทองอุ่นเรือน
Subject
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.สาขาวิชาเคมีสิ่งแวดล้อม -- ปริญญานิพนธ์
Subject
การกักเก็บคาร์บอน
Subject
ชีวมวลพืช -- ปริมาณคาร์บอน
Subject
เคมีสิ่งแวดล้อม -- ปริญญานิพนธ์
Subject
ต้นแสมขาว
Subject
ต้นแสมดำ
Description.Abstract
การศึกษาศักยภาพการกักเก็บคาร์บอนโดยเปรียบเทียบระหว่างต้นแสมขาวและต้นแสมดำในแปลงป่าปลูก ณ ศูนย์การเรียนรู้เชิงอนุรักษ์ป่าชายแลน ตำบลคลองตำหรุ อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ในการวางแปลงตัวอย่างได้ทำการเลือกสุ่มแปลงตัวอย่าง ขนาด 20x20 เมตร ตัวอย่างละ 1 แปลง เลือกตัดพันธุ์ไม้ตัวอย่างของพื้นที่ศึกษาได้แก่ ต้นแสมขาวและต้นแสมดำ โดยวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณมวลชีวภาพเหนือดิน ปริมาณการกักเก็บคาร์บอนโดยใช้สมการแอลโลเมตรี นำไปวิเคราะห์หาปริมาณคาร์บอนด้วยวิธีสันดาปแห้ง (dry combustion) โดยใช้เครื่องวิเคราะห์ปริมาณรวมของคาร์บอนอินทรีย์ (Total Organic Carbon Analyzer) ผลการศึกษาพบว่า ต้นแสมขาวมีปริมาณมวลชีวภาพเหนือดินน้อยกว่าต้นแสมดำ คือ 44.75 ตัน/เฮกตาร์ และ 60.05 ตัน/เฮกตาร์ ทั้ง 2 สายพันธุ์จะมีปริมาณมวลชีวภาพมากที่สุด คือ ลำต้น กิ่ง และใบ ตามลำดับ ส่วนความเข็มข้นของคาร์บอนในมวลชีวภาพระหว่างส่วนต่างๆและสายพันธุ์ไม้ตัวอย่าง ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 95 %(p<0.05) โดยความเข้มข้นของคาร์บอนเฉลี่ยของต้นแสมขาวและต้มแสมดำมีค่าเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 46.15 ต่อน้ำหนักแห้ง และร้อยละ 44.69 ต่อน้ำหนักแห้งตามลำดับ ศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอนของต้นแสมขาวน้อยกว่าต้นแสมดำคือ 21.20 ตัน/เฮกตาร์ และ 26.91 ตัน/เฮกตาร์ โดยทั้ง 2 สายพันธุ์มีศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอนมากที่สุด คือ ลำต้น กิ่งและใบ ตามลำดับ
Publisher
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. สำนักหอสมุดกลาง
Publisher.Place
กรุงเทพมหานคร
Publisher.Email
library@kmitl.ac.th
Contributor
กลิ่นสุคนธ์ สุวรรณรัตน์
Contributor.Role
อาจารย์ที่ปรึกษา
Date.Created
2560
Date.Issued
2562-10-31
Date.Modified
2562-10-31
Type
ปริญญานิพนธ์/KMITL E-Thesis
Format
application/pdf
Source.CallNumber
EThesis
Language
tha
Rights
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
Thesis.DegreeName
วิทยาศาสตรบัณฑิต (เคมีสิ่งแวดล้อม)
Thesis.Level
ปริญญาตรี
Thesis.Faculty
คณะวิทยาศาสตร์
Thesis.Descipline
เคมีสิ่งแวดล้อม
Thesis.Grantor
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง


แสดงความเห็น
หัวข้อ
รายละเอียด
 
 
 
     แสดงความเห็น

34.229.63.28